เตรียมพร้อมสู่ Big Data
- October 1, 2021
หลาย ๆ ธุรกิจรู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยมี Data ลูกค้า ทำอย่างไรถึงจะเก็บรวบรวมได้มากขึ้น? มาดูเทคนิคต่าง ๆ เมื่อพูดถึงการนำ Big Data มาใช้กับธุรกิจ สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เลย ก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีขั้นตอนมากมายที่เกี่ยวข้องก่อนไปสู่การทำ Big Data แต่คำว่า Big ในชื่อของมันก็สื่อความแล้วว่าการหา Insight นั้น จำเป็นต้องได้ข้อมูลที่เยอะมากพอ เพราะถ้า Digital Disruption เริ่มทำให้ทุกอุตสาหกรรมรับแรงสั่นสะเทือน ชนิดที่ใครช้า ไม่ปรับตัว ไม่เปลี่ยนแปลง อาจจะถูกกวาดทำลายล้างไปในที่สุด หนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะเจอผลกระทบอย่างชัดเจนคือ “การธนาคารสำหรับรายย่อย” หรือ Retail Banking ที่เครือข่ายหรือจำนวนสาขาอาจจะไม่ใช่คำตอบของการดำเนินงานที่สำเร็จอีกต่อไป จึงทำให้เราอาจจะเห็นแบงก์ต้องลุกขึ้นมาพลิกโฉมปรับกลยุทธ์ เสริมพันธมิตรรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็วของลูกค้าในปัจจุบัน และเตรียมพร้อมเพื่อการปรับเปลี่ยนการทำงานอย่างต่อเนื่อง
ในตอนเริ่มนั้น ข้อมูลที่เรามีอยู่ในมืออาจจะไม่เพียงพอให้นำไปใช้ อีกทั้งอาจมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนบุคลากรและงบประมาณ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งในบทความนี้ เราจึงพูดถึงกลยุทธ์การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการใช้จริงในธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสตาร์ทอัพ ซึ่งคุณ (ไม่ว่าจะใช่หรือไม่ใช่สตาร์ทอัพ) สามารถเรียนรู้การใช้งานเพื่อช่วยลดเวลาและเบาแรงสมาชิกในทีมไปได้อย่างมาก
หนึ่งในข้อมูลที่สร้างโอกาสมหาศาลให้แก่ธุรกิจมากที่สุด นั่นก็คือ ข้อมูลจากลูกค้า แน่นอนว่าชุดข้อมูลที่ดีนั้น เราต้องเก็บมาจากผู้ใช้จริง ต้องไปพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับลูกค้า แม้ว่า Customer Support และ Sales เป็นสองฝ่ายที่มีโอกาสคลุกคลีกับลูกค้ามากที่สุด แต่นอกเหนือจากการทำรายงานตามปกติแล้ว ข้อมูลเล็กน้อยตลอดทางต่าง ๆ เช่น Preference ความชอบของลูกค้า อาจไม่ได้ถูกเก็บอย่างเป็นระเบียบ ดังนั้น หน้าที่ของการเก็บรวบรวมข้อมูลจึงไม่จำเป็นต้องเป็นหน้าที่ของคนเสมอไป แต่สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยงานได้ เราเรียกเทคโนโลยีที่ช่วยในการทำงานอัตโนมัติว่า ‘Automation’
ไม่ควรตั้งเป้าที่จะได้ข้อมูลมาให้มากที่สุด แต่ควรตั้งเป้าว่าจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจมา ชุดข้อมูลตั้งต้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากต่อระบบ เพราะจะช่วยให้สามารถพัฒนาระบบไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ และทำให้เห็นข้อบกพร่องต่าง ๆ ของระบบ แต่การจะเก็บข้อมูลตั้งต้นจากผู้ใช้งานจริงนั้นกลับไม่ใช่เรื่องง่าย และการจะโน้มน้าวให้ใครมาใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เป็นเรื่องที่ท้าทาย เพื่อให้การเก็บรวบรวมข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น การจำกัดขอบเขตข้อมูลให้เล็กลง และตรงกับที่เราต้องการจริง ๆ นั้น จึงเป็นสิ่งที่ช่วยลดเวลาในการเก็บข้อมูลที่ไม่จำเป็นลงได้ ซึ่งการตั้งขอบเขตของการถามตอบกับผู้ใช้นั้น สามารถใช้ Chatbot ทำงานแทนได้
บางครั้งการนำเครื่องมือเข้ามาช่วยในการจัดการกับข้อมูล ก็เป็นวิธีการที่ช่วยจัดระเบียบข้อมูลได้ดีกว่า เช่น การใช้ Agency ช่วยจัดการ ก็จะทำให้เราลดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้ อีกทั้งเครื่องมือที่ได้มาตรฐานและผู้เชี่ยวชาญก็จะช่วยอธิบายการทำงานในภาพรวมได้ดีกว่าการใช้งานบุคลากรที่ไม่มีความคุ้นชินในเรื่องนี้ และยังทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
เป็นขั้นตอนของการสร้างข้อมูล, การรวบรวมข้อมูล, การทำความสะอาดข้อมูล, การจัดเก็บข้อมูล, การจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้และส่งต่อ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดชุดข้อมูล (Dataset) และประเภทของข้อมูล (Data Catalog) ให้สอดคล้องตามลักษณะโครงสร้างข้อมูลเพื่อส่งเข้าไปสู่ระบบประมวลผลต่อไป
เป็นการใช้เครื่องมือที่เป็นซอฟต์แวร์ประเภทการจัดการ วิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูลที่มีขนาดใหญ่หรือซับซ้อนเพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้เชื่อมเข้าหากันและนำไปสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ประเภทแรก ได้แก่ โปรแกรมประเภท GUI (Graphical User Interface) คือสามารถเชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด แต่จะใช้วิธีเขียนแผนผังแทน ได้แก่ Knime, QpenRefine, Tableau และ RapidMiner ส่วนประเภทที่สอง ได้แก่ โปรแกรมมิ่ง คือ ต้องเขียนโค๊ด ได้แก่ R, Python, Java/JDBC และ SQL
เมื่อเรามีครบทั้งเครื่องมือ ชุดข้อมูล และทีมงานแล้ว หัวใจสำคัญก็คือการวางแผนที่ดี
เพราะการนำเทคโนโลยี Big Data มาใช้นั้น จะเกี่ยวข้องกับทั้งองค์กร จำเป็นต้องพึ่งพาการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้น ให้เกิดความสอดคล้องและประสิทธิภาพสูงสุดในการบรรลุเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น หลังจากรู้วิธีเก็บข้อมูลแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ จัดเรียงข้อมูล นำไปวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลตามความต้องการ แล้วนำไปวางกลยุทธ์หรือใช้งานต่อ (Implement) อาทิ วางกลยุทธ์การตลาดจากข้อมูลที่มีแล้วปฏิบัติจริง นำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาสินค้าและบริการให้โดนใจผู้บริโภคยิ่งขึ้น รวมถึงทำให้เห็นภาพรวมและภาพย่อยที่เกิดขึ้นแบบ Local ได้เป็นอย่างดี
TOHKLOM EX – Digital Event Service & Solution จากประสบการณ์ 14 ปี เราสามารถเป็น Consult Agency ให้คุณได้ ตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์-วางแผนทางการตลาดเชื่อมโยงผ่านช่องทางการตลาดทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ผู้บริโภคทุกช่องทางทั้งในรูปแบบ Offline Marketing และ Online Marketing
ขอบคุณข้อมูลส่วนหนึ่งจาก : The Viable
หลาย ๆ ธุรกิจรู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยมี Data ลูกค้า ทำอย่างไรถึงจะเก็บรวบรวมได้มากขึ้น? มาดูเทคนิคต่าง ๆ เมื่อพูดถึงการนำ Big Data มาใช้กับธุรกิจ สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เลย ก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล
แม้ว่าภาพรวมจะดีขึ้น แต่เราก็ควรเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อช่วยกันป้องกันไม่ให้โรคระบาดเกิดอีกครั้ง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อาทิ การช้อปออนไลน์ที่มากขึ้น
ถ้าพูดถึง “Artificial Intelligence (AI)” หรือที่แปลเป็นไทยว่า “ระบบปัญญาประดิษฐ์” หลายคนอาจนึกไปถึงหุ่นยนต์ หรือ สิ่งประดิษฐ์แสนไฮเทคอย่างในภาพยนตร์ไซไฟ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบัน AI ซ่อนอยู่ในสิ่งของหรือบริการที่ใช้กันโดยทั่วไป และอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเราได้อย่างกลมกลืน
78 Soi Ramkhamhaeng 26/1, Ramkhamhaeng Rd., Huamark, Bangkapi, Bangkok 10240
© Copyright 2023 Tohklom Co., Ltd.
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถเข้าชมเว็บไซต์ได้เป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน