พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป
ใน New Normal
- September 29, 2021
แม้ว่าภาพรวมจะดีขึ้น แต่เราก็ควรเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อช่วยกันป้องกันไม่ให้โรคระบาดเกิดอีกครั้ง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อาทิ การช้อปออนไลน์ที่มากขึ้น สั่งอาหารออนไลน์มากขึ้น เราจะมาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมที่จะกลายเป็น New Normal หลังจบ COVID-19 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ
สถานการณ์นี้จะช่วยให้คนคุ้นชินกับเทคโนโลยี เมื่อผู้บริโภคคุ้นชินกับการใช้ดิจิทัล ส่งผลให้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นเร็วมาก ดังนั้นนี่เป็นโอกาสที่จะได้แนะนำหรือให้ลูกค้าได้เทสต์สินค้าโดยไม่ต้องใช้พนักงาน (Personal Touch) แต่ใช้เทคโนโลยีอย่าง AR/VR แทน เช่น ใช้แอปลองแต่งหน้าหรือลองชุด โดย 61% ของผู้บริโภคทั่วโลกใช้เทคโนโลยี AR/VR เพื่อซื้อสินค้า นอกจากนี้ผู้บริโภคชอบโหลดแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องต่อไปในอนาคต
มีการคาดการณ์ว่าหลาย ๆ บริษัทจะเริ่มให้อิสระในการทำงานกับพนักงานมากขึ้น โดยพนักงานอาจไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาที่ออฟฟิศ ข้อดี คือ บริษัทสามารถลดพื้นที่และค่าใช้จ่ายในการเช่าสำนักงานได้ด้วย นอกจากนี้ เทรนด์การออกแบบสำนักงานแบบเปิดโล่ง (Open Plan Office) ที่ไม่มีพาร์ทิชั่นกั้นระหว่างโต๊ะทำงาน ซึ่งเคยได้รับความนิยมในออฟฟิศยุคใหม่ ก็อาจลดลง และอาจมีการปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่แบบปิดมากขึ้น เพราะการมีพาร์ทิชันกั้นระหว่างโต๊ะทำงาน จะช่วยลดโอกาสการสัมผัสเชื้อ COVID-19 ได้มากขึ้น
เทรนด์การป้องกันและดูแลสุขภาพเป็นพฤติกรรมที่เป็น New Normal อย่างชัดเจนมากในยุคปัจจุบัน สินค้าประเภทเพื่อสุขภาพไม่ว่าจะเป็นเจลล้างมือ, เจลแอลกอฮอล์, หน้ากากอนามัย หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดแทบจะกลายเป็นหนึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต ตามมาถึงการดูแลตัวเอง มองภาพจากเทรนด์การค้นหาบน Google คือ คนจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ การเริ่มออกกำลังกาย หรือการตัดผม รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดผม ฯลฯ เพื่อดูแลตัวเองเมื่ออยู่บ้าน บางคนอาจจะชินกับพฤติกรรมเหล่านี้จนไม่จำเป็นต้องไปใช้บริการข้างนอกเลยก็เป็นได้
ข้อจำกัดด้านการเดินทางออกนอกบ้านไม่ได้เพราะเคอร์ฟิว รวมถึงการปิดทำการห้างร้านต่าง ๆ ทำให้ผู้คนหันมาสนใจซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์เพื่อความสะดวกสบาย อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น การใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นตามมาด้วย การซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ไม่ใช่แค่เพียงอาหาร สินค้าอุปโภค-บริโภค แต่ตามมาถึงสินค้าที่ช่วยให้การใช้ชีวิตอยู่บ้านสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เก้าอี้นั่งทำงาน, โต๊ะทำงาน, หรือแม้กระทั่งสื่อเพื่อความบันเทิง ต่างก็อยู่บนออนไลน์เพื่อความสะดวกสบาย
63% ของผู้บริโภคใส่ใจเรื่องคุณภาพสินค้ามากขึ้น แปลว่าต่อไป Price Sensitivity จะต่ำลง ดังนั้น ในอนาคต 70% ของผู้บริโภคในเอเชียและไทยหันมาใช้สินค้า Local Brand โดยเฉพาะสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเอง เนื่องจากผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้านำเข้า กังวลว่าจะผ่านอะไรมาบ้าง อีกทั้งผู้ผลิต Local ยังตอบสนองความต้องการได้ดีกว่า ดังนั้นตอนนี้เป็นโอกาสของแบรนด์ Local นี่จึงเป็นช่วงที่ต้อง Push
ในส่วนสินค้าที่ใช้ประจำ การจะต้องคอยมาสั่งบ่อย ๆ คงจะขี้เกียจ ดังนั้นจะเกิดรูปแบบการ Auto Subscription หรือส่งสินค้าในทุก ๆ เดือนหรือสัปดาห์ตามแต่จะกำหนด ซึ่งนอกจากจะช่วยให้แบรนด์มีรายได้คงที่แล้ว ยังเป็นการเตรียมพร้อมแบรนด์ให้รับมือกับการมาของ IoT เพราะในอนาคต IoT จะสั่งสินค้าแทนมนุษย์ ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
*Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล
จากสถานการณ์ของ COVID-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคเช็คข่าวเฉลี่ย 12 ครั้ง/สัปดาห์ Social และ Chat App กลายเป็นที่รับข่าวสาร โดยตอนนี้คนใช้สื่อเยอะมาก ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งรายการข่าวและความบันเทิง ดังนั้นช่วงนี้เป็นจังหวะที่จะได้โฟกัสกับคนดูมากขึ้น นี่เป็นช่วงที่ต้อง Push ให้หนักขึ้น แต่ต้องมี Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้นด้วยทั้งในเชิงคอนเทนต์และช่องทาง ขณะที่ Social Media กำลังจะเป็น Main Stream หรือสื่อหลักที่คนรับข่าวจาก Social มากว่าสื่อปกติ อย่างประเทศจีนการเสพข่าวใน Social กลายเป็น Main Stream ไปแล้ว โดยไทยเอง 86% เสพข่าวจาก Social รองลงมาเป็นทีวี 79%
องค์กรหรือแบรนด์จะต้องใช้ ‘Social Media’ ให้เป็นกลยุทธ์หลัก เพราะสุดท้ายแล้วนี่จะเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวผู้บริโภค รวมถึงใครที่ขายสินค้าออนไลน์อยู่แล้วอาจจะต้องลองขยายพื้นที่ให้บริการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการขาย ทั้งนี้อาจต้องคำนึงถึงขีดความสามารถของโลจิสติกส์ด้วย
“และนี่เป็นจุดตั้งต้นไปสู่ New Normal ทั้งการบริโภคและเสพสื่อ ถ้าไม่เริ่มปรับตัวตั้งแต่ตอนนี้แล้วไปจับตลาดในวันที่มันกลายเป็นพฤติกรรมถาวรไปแล้ว แบรนด์จะไม่รู้รากเง่า ไม่เข้าใจพฤติกรรมว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น ทำให้เราไม่สามารถดีไซน์ประสบการณ์ที่เข้ากับเขาได้ ดังนั้น นี่คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ทุกคนจะต้องปรับตัว อย่ารอให้การเปลี่ยนแปลงจบแล้วค่อยทำ”
TOHKLOM EX – Digital Event Service & Solution จากประสบการณ์ 14 ปี เราสามารถเป็น Consult Agency ให้คุณได้ ตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์-วางแผนทางการตลาดเชื่อมโยงผ่านช่องทางการตลาดทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ผู้บริโภคทุกช่องทางทั้งในรูปแบบ Offline Marketing และ Online Marketing
ขอบคุณข้อมูลส่วนหนึ่งจาก : Positioning
หลาย ๆ ธุรกิจรู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยมี Data ลูกค้า ทำอย่างไรถึงจะเก็บรวบรวมได้มากขึ้น? มาดูเทคนิคต่าง ๆ เมื่อพูดถึงการนำ Big Data มาใช้กับธุรกิจ สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เลย ก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล
แม้ว่าภาพรวมจะดีขึ้น แต่เราก็ควรเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อช่วยกันป้องกันไม่ให้โรคระบาดเกิดอีกครั้ง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อาทิ การช้อปออนไลน์ที่มากขึ้น
ถ้าพูดถึง “Artificial Intelligence (AI)” หรือที่แปลเป็นไทยว่า “ระบบปัญญาประดิษฐ์” หลายคนอาจนึกไปถึงหุ่นยนต์ หรือ สิ่งประดิษฐ์แสนไฮเทคอย่างในภาพยนตร์ไซไฟ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบัน AI ซ่อนอยู่ในสิ่งของหรือบริการที่ใช้กันโดยทั่วไป และอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเราได้อย่างกลมกลืน
78 Soi Ramkhamhaeng 26/1, Ramkhamhaeng Rd., Huamark, Bangkapi, Bangkok 10240
© Copyright 2023 Tohklom Co., Ltd.
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถเข้าชมเว็บไซต์ได้เป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน